โดยปกติภายในโรงงานหรือสถานประกอบการต่างๆ จะมีการใช้สารเคมีต่างๆ จำนวนมาก ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามประเภทของการดำเนินกิจการ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยและเพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างครบถ้วน ทางสถานประกอบการควร
• จัดทำบัญชีรายชื่อสารเคมีทั้งหมดที่มีใช้ภายในสถานประกอบการ โดยควรแยกส่วนประกอบของแต่และชนิดให้ชัดเจน จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง ความปลอดภัยในการทำ งานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ถ้าตรงกับสารเคมีในตารางที่ 1 ให้จัดทำ สอ.1
• และถ้าปริมาณการใช้มากกว่าจำนวนที่กำหนดใน ตารางที่ 2 ให้จัดทำ สอ.2
• จากนั้นให้นำไปเปรียบเทียบกับประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ขีดจำกัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย ซึ่งประกอบด้วยสารเคมีอันตราย 324 ลำดับ ที่กำหนดค่าความเข้มของสารเคมีที่ยอมให้มีได้ในบรรยากาศการทำงาน แล้วนำผลการตรวจวัดที่ได้ มารายงานตามแบบ สอ.3 [แต่ถ้าพิจารณาเฉพาะรายการสารเคมีที่พบในกฎหมายฯ จะไม่ครอบคลุมรายการสารเคมีอันตรายทั้งหมด ดังนั้นถ้าสถานประกอบการต้องการตรวจวัดรายการสารเคมีอื่นๆนอกเหนือจากที่กำหนดในกฎหมายดังกล่าว อาจนำค่าผลการตรวจวัดไปเปรียบเทียบกับค่าแนะนำของต่างประเทศ เช่น ค่า TLVs ของ ACGIH หรือค่ามาตรฐานของ OSHA acts.เป็นต้น
• สุดท้ายกฎหมายให้ตรวจสุขภาพพนักงานที่ทำงานสัมผัสสารเคมีอันตรายด้วยเพื่อจัดทำรายงาน สอ.4 ซึ่งปัจจุบันมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ กฎกระทรวง เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง และส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. 2547 ,ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องกำหนดสารเคมีอันตรายที่ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง พ.ศ. 2552 และ มอก..2547-2555(มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แนวปฏิบัติการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง ด้านสารเคมี และกายภาพจากการประอาชีพในสถานประกอบกิจการ) [แต่ถ้าพิจารณาตามกฎหมายฯ จะพบว่ามีการกำหนดค่ามาตรฐานไม่ครอบคลุมรายการสารเคมีอันตรายทั้งหมด ดังนั้นถ้าสถานประกอบการต้องการตรวจวัดรายการสารเคมีอื่นๆนอกเหนือจากที่กำหนดในกฎหมายดังกล่าว อาจนำค่าผลการตรวจวัดไปเปรียบเทียบกับค่าแนะนำของต่างประเทศ เช่น ค่า BEIs ของ ACGIH]
บริษัท ไอ.เอช. คอนซัลแตนท์ จำกัด ให้บริการตรวจวัดเพื่อประเมินระดับความอันตรายของสารเคมีในบรรยากาศการทำงาน ด้วยมาตรฐานระดับสากล เช่น NIOSH, OSHA และดำเนินการวิเคราะห์ด้วยห้องปฏิบัติการ ที่เป็นที่ยอมรับทั้งภาครัฐและ เอกชน โดยเราสามารถให้บริการครอบคลุมสารเคมี ต่างๆ ดังนี้ กลุ่มสารทำละลาย (Solvent), ก๊าซ (Gas), โลหะหนัก (Heavy Metal), ฝุ่นละออง (Total Dust/ Respirable Dust) เป็นต้น